นกบิน

วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2555

การทำงานของหัวใจแบ่งเป็น 3 ส่วนสำคัญคือ
  - การควบคุมสั่งการจากระบบประสาท
  - การนำสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ
  - การบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ

การควบคุมสั่งการจากระบบประสาท
       โดยปกติหัวใจจะถูกควบคุมโดยระบบประสาทอัตโนมัติ(Autonomic nervous system)จากบริเวณ ก้านสมอง (Brainstem) ด้วยเส้นประสาทจากสมอง 2 ชนิดคือ เส้นประสาทซิมพาเธติค (Sympathetic nerve fibers) และเส้นประสาทเวกัส(vagal motor nerve fibers) ซึ่งจะส่งสัญญาณประสาทมาที่ SA node
       โดยที่เส้นประสาทซิมพาเธติคจะทำให้ SA node ทำงานเร็วขึ้น ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น ขณะที่เส้น ประสาทเวกัส จะทำให้ SA node ทำงานช้าลง ทำให้หัวใจทำงานช้าลง
       นอกจากนี้แล้วส่วนของหัวใจและหลอดเลือดจะประกอบด้วยตัวรับสัญญาณประสาทที่เราเรียกว่า receptors ซึ่งจะถูกควบคุมทั้ง จากระบบประสาทซิมพาเธติค และระบบประสาทพาราซิมพาเธติค อันจะมีผล ต่อความเร็วและความแรงในการบีบตัวของหัวใจ การหดและขยายตัวของหลอดเลือด ซึ่งมีรายละเอียด ค่อนข้าง ซับซ้อนจะไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดในขณะนี้
การนำสัญญาณไฟฟ้าในหัวใจ
       โดยปกติหัวใจจะมีส่วนที่เป็นฉนวนไฟฟ้ากั้นระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง เราเรียกว่า annulus fibrosus แต่หัวใจมีระบบ การนำสัญญาณไฟฟ้าเฉพาะที่เราเรียกว่า cardiac conduction system ซึ่งจะทำ หน้าที่นำสัญญาณไฟฟ้าจากหัวใจห้องบนลงสู่ห้องล่าง
       เมื่อสัญญาณไฟฟ้ากระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจจะทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อหัวใจและตามด้วยการ
คลายตัวของกล้ามเนื้อหัวใจ เมื่อสัญญาณไฟฟ้าผ่านไป
        หัวใจจึงมีการบีบตัวจากหัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่างแล้วตามด้วยการบีบตัวของหัวใจห้องล่างส่งเลือดต่อไป ให้เส้นเลือดแดง พัลโมนารี่และ เส้นเลือดแดงเอออร์ตา และด้วยระยะเวลาการบีบตัวที่พอเหมาะ ระหว่างหัวใจห้องบนและห้องล่าง จะทำให้เลือดไหลจาก หัวใจห้องบน ลงสู่ห้องล่างได้อย่างเต็มที่
        จุดเริ่มของการ นำไฟฟ้าในหัวใจ เริ่มที่หัวใจห้องบนขวาในบริเวณที่เราเรียกว่า SA node หรือ sinoatrial node หรือ sinus node
       จากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจะกระตุ้นไปตามผนังของหัวใจห้องบนทั้งขวาและซ้ายและลงสู่บริเวณที่เราเรียกว่า AV node หรือ Atrioventricular node และที่ตำแหน่งนี้สัญญาณจะถูกหน่วงเวลาให้ช้าลงชั่วครู่ก่อนจะส่ง สัญญาณไฟฟ้าต่อลงไปข้างล่าง ซึ่งจะเป็นจังหวะเดียวกับที่รอให้หัวใจห้องบนบีบเลือดลงสู่หัวใจห้องล่างนั่นเอง
       จาก AV node สัญญาณไฟฟ้าจะเดินทางต่อมายัง มัดเส้นใยประสาทที่เราเรียกว่า Bundle of His และแยกออกเป็น 2 แขนงซ้ายขวา โดยแขนงด้านขวาทอดยาวมาตามด้านขวาของผนังกั้นหัวใจห้องล่าง        ส่วนแขนงด้านซ้ายซึ่งใหญ่กว่าจะแทงทะลุผ่านผนังกั้นหัวใจไปทางซ้ายและแยกออกเป็น 2 แขนงคือ ด้านหน้าและด้านหลัง
       จากนั้นจะผ่านเข้าไปยังร่างแหของเส้นใยประสาทที่เราเรียกว่า Purkinje fibers ซึ่งอยู่ใต้ต่อเยื่อบุ ด้านในของหัวใจ(endocardium) และไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหัวใจด้านล่างทำให้เกิดการบีบตัวในที่สุด

คลิกเพื่อขยายรูป  คลิกเพื่อขยายรูป  คลิกเพื่อขยายรูป
การบีบตัวและคลายตัวของหัวใจ
         หัวใจเต้น 1 ครั้งจะประกอบด้วยการบีบตัวและการคลายตัวของหัวใจทั้งบนและล่าง ซึ่งโดยปกติ เราจะแบ่งจังหวะการเต้นของ หัวใจเป็น 2 จังหวะโดยยึดตามหัวใจห้องล่างเป็นหลักคือ
          จังหวะการบีบตัว เราเรียกว่า systole จะเป็นจังหวะที่ลิ้นหัวใจไตรคัสปิดและลิ้นหัวใจไมตรัลปิด และหัวใจห้องล่างขวา-ซ้ายบีบตัวเพื่อนำเลือดผ่านลิ้นหัวใจพัลโมนารี่และลิ้นหัวใจเอออร์ติคซึ่งเปิดออก ไปสู่ เส้นเลือดแดงพัลโมนารี่และเส้นเลือดแดงเอออร์ตา ตามลำดับ
          จังหวะการคลายตัว เราเรียกว่า diastole จะเป็นจังหวะที่ลิ้นหัวใจพัลโมนารี่และลิ้นหัวใจเอออร์ติคปิด ส่วนลิ้นหัวใจ ไตรคัสปิด และ ลิ้นหัวใจไมตรัล จะเปิดออกทำให้เลือดที่อยู่ในหัวใจห้องบนไหลลงสู่หัวใจห้องล่าง ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับ ที่หัวใจห้องล่าง ทั้งขวาและ ซ้ายคลายตัวเพื่อรับเลือดนั่นเอง   ในช่วงจังหวะปลายของระยะนี้ หัวใจห้องบนทั้งขวาและซ้ายจะ บีบเค้น เอาเลือดส่วนที่เหลือให้ ออกจาก หัวใจห้องบนลงสู่หัวใจห้องล่าง
         จากนั้นจะเริ่มเข้ารอบใหม่ของการเต้นของหัวใจคือ systole   คือลิ้นหัวใจไตรคัสปิด และลิ้นหัวใจ ไมตรัลจะปิดอีกครั้งเพื่อเตรียมให้หัวใจห้องล่างบีบเลือดส่งออกไป  โดยหัวใจห้องล่างขวาบีบ เลือดไปที่เส้นเลือด แดงพัลโมนารี่(ซึ่งที่จริงแล้วมีแต่เลือดดำ) เพื่อไปฟอกเลือดที่ปอดและหัวใจห้องล่างซ้าย บีบเลือดไปที่เส้นเลือด แดงเอออร์ตา เพื่อนำเลือดแดงไปเลึ้ยงเนื้อเยื่อทั่วร่างกาย

             คลิกเพื่อขยายรูป            คลิกเพื่อขยายรูป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น